คือถังเก็บน้ำซึ่งเหลือจากการสูบขึ้นมาและเหลือจากการใช้งานในแต่ละครั้ง โดยมีหลักการทำงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนเก็บแรงดันลมจากภายนอก (Air fill value)และส่วนปั๊มน้ำสูบน้ำขึ้นมาน้ำไหลไปเก็บบริเวณถุงไดอะแฟรมกระทั่งปริมาณน้ำเต็มถุง ปั๊มน้ำจะหยุดการทำงานทันที ทั้งนี้ถังควบคุมแรงดันน้ำ มีหน้าที่ คือเพื่อรักษาระดับน้ำและแรงดันภายในท่อให้มีความเหมาะสมและสามารถช่วยประหยัดพลังงานในการสูบน้ำเพื่อใช้งานในครั้งต่อไปเมื่อมีการใช้น้ำครั้งต่อไปน้ำจะไหลออกจากถังควบคุมแรงดันน้ำกระทั่งหมดจึงจะมีการสูบน้ำเพื่อเก็บบริเวณถุงไดอะแฟรมให้พร้อมต่อการใช้งานเสมอ โดยทั่วไปจะติดตั้งบริเวณก๊อกน้ำ สายฉีดชำระ สายฝักบัวของอาคารบ้านเรือน หรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

ส่วนประกอบหลัก

  1. ตัวถังแรงดัน เลือกใช้วัสดุ EPDM Membrane และ Carbon Steel ในการผลิต หรือเลือกใช้งานวัสดุอื่นในการผลิต ให้เหมาะสำหรับการใช้งาน อีกทั้งเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับน้ำประปา และรองรับแรงดันสูงสุด 10 บาร์
  2. ถุงไดอะแฟรมและแผ่นเคลือบ(Polypropylene liner) วัสดุมีความปลอดภัยต่อการบริโภคและสภาพแวดล้อม มีหน้าที่เพื่อใช้เก็บน้ำหลังจากปั๊มน้ำสูบน้ำขึ้นมา และเพื่อใช้งานในครั้งต่อไป 
  3. แรงดันลม
  4. เพรสเชอร์เกจเพื่อใช้วัดแรงดันภายในสำหรับถังควบคุมแรงดันน้ำตั้งแต่ขนาด 200 ลิตร
  5. เลือกใช้วัสดุพลาสติกสังเคราะห์ ในการผลิตขาตั้ง มีความคงทนต่อการใช้งาน และลดการเกิดเสียงดังหรือแรงสั่นสะเทือนขณะมีการใช้งาน

ประโยชน์

  1. ช่วยประหยัดพลังงานในการสูบน้ำ เพื่อใช้งานครั้งต่อไป
  2. ช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนจากการทำงานของเครื่องปั๊มน้ำ(Water Hammer) ซึ่งเกิดจากแรงดันขณะมีการสูบน้ำ
  3. ช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ เนื่องด้วยการลดความถี่การสูบน้ำ

ประเภท

  1. ประเภทถังเหล็กควบคุมแรงดันน้ำ สามารถเลือกใช้งานตั้งแต่ขนาด 50 ลิตร – 1,000 ลิตร
  2. ประเภทถังสเตนเลสควบคุมแรงดันน้ำ สามารถเลือกใช้งานตั้งแต่ขนาด 50 ลิตร – 500 ลิตร
  3. ประเภทถัง Booster pump โดยเลือกใช้งานวัสดุ EPDM Membrane และ Carbon Steel ในการผลิต เหมาะสำหรับใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียมสามารถเลือกใช้งานตั้งแต่ขนาด 200 ลิตร
  4. ประเภทถัง Butyl Membrane เป็นวัสดุซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่ม หรืออุตสาหกรรมอาหาร สามารถเลือกใช้งานตั้งแต่ขนาด 24 – 3,000 ลิตร และสามารถทนความร้อนได้สูงสุด 90 องศาเซลเซียส อีกทั้งสามารถใช้งานในลักษณะ ถัง Booster pump

ตัวอย่าง

  1. ขนาด 100 ลิตร ขนาดท่อ 1 นิ้ว สามารถรองรับแรงดันสูงสุด 10 บาร์ และทนความร้อนได้สูงสุด 90 องศาเซลเซียส
  2. ขนาด 110 ลิตร ความสูง 950 มิลลิเมตร ขนาดท่อ 1 นิ้ว สามารถรองรับแรงดันสูงสุด 10 บาร์ และทนความร้อนได้สูงสุด 90 องศาเซลเซียส
  3. ขนาด 1,000 ลิตร ความสูง 2,465 มิลลิเมตร ขนาดท่อ 2 นิ้ว สามารถรองรับแรงดันสูงสุด 10 บาร์ และทนความร้อนได้สูงสุด 90 องศาเซลเซียส

การดูแลรักษาและการติดตั้ง

  1. ควรตรวจสอบแรงดันลมภายใน บริเวณจุดเริ่มต้น และจุดปลายทางของถังควบคุมแรงดัน ในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน / 1 ครั้ง
  2. ควรตรวจสอบการเปิด – ปิด ของถังควบคุมแรงดันทุกครั้งที่มีการใช้งาน
  3. ควรตรวจสอบการทำงานของถังควบคุมแรงดันทุกครั้งที่มีการใช้งาน
  4. ควรติดตั้งในบริเวณปั๊มสูบน้ำ เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกัน
  5. ควรเลือกใช้งานขนาดของถังควบคุมแรงดันน้ำที่มีคุณภาพและมีเหมาะสมกับการใช้งาน

ปั๊มบ้านบอกต่อ! กับเกร็ดความรู้เรื่องปั๊มน้ำ และสารพัดวิธีแก้ปัญหาจุกจิกภายในบ้าน เรามีคำตอบให้คุณได้ทุกวัน
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 15 วัน) (งานติดตั้ง 90 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์หยุดนักขัตฤกษ์