ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ Sats คือ ถังซึ่งมีหน้าที่บำบัดสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย โดยการนำเข้าออกซิเจนทำปฏิกิริยาชีวเคมีกับแบคทีเรีย เพื่อบำบัดสิ่งปฏิกูลและย่อยสลายตะกอนโดยจุลินทรีย์ ช่วยลดกลิ่นและค่า BOD ก่อนการปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ และป้องกันการเกิดปัญหาการซึมลงดินได้ไม่ดีหรือการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ถังบำบัดน้ำเสีย มีลักษณะ คือ รวมทั้งระบบของบ่อเกรอะและระบบบ่อซึมในพื้นที่ถังเดียวกัน เพื่อประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน เหมาะสำหรับใช้งานในอาคารบ้านเรือน โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น ซึ่งบ่อเกรอะมีหน้าที่รับสิ่งปฏิกูลและน้ำเสียโดยตรงจากภายในบ้านและส่งต่อให้ระบบบ่อซึม

ประเภท

  1. ประเภทซึ่งมีการใช้งานปั๊มเติมอากาศร่วมกับการบำบัดสิ่งปฏิกูลและย่อยสลายตะกอนโดยจุลินทรีย์ ก่อนการปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ มีราคาสูงกว่าถังแบบเติมอากาศ และส่งกลิ่นน้อยกว่าถังแบบเติมอากาศ 
  2. ประเภทซึ่งไม่มีการใช้งานร่วมกับปั๊มเติมอากาศ และมีราคาถูกกว่าถังแบบไม่เติมอากาศ บำบัดสิ่งปฏิกูลและย่อยสลายตะกอนโดยจุลินทรีย์ ก่อนการปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ
  3. แบ่งประเภทโดยวัสดุที่ใช้ในการผลิต แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ 1.ประเภทซึ่งผลิตด้วยซีเมนต์ คือ แบบสำเร็จรูปผลิตจากโรงงาน จึงนำมาประกอบบริเวณพื้นที่ติดตั้ง2.ประเภทซึ่งผลิตด้วยโพลีเอทธีลีนหรือเม็ดพลาสติก และหลอมด้วยความร้อนเป็นลักษณะตามแบบหล่อ 3.ประเภทซึ่งผลิตด้วยไฟเบอร์กลาสนำไฟเบอร์กลาสเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยใช้เครื่องจักร มี 2 ลักษณะ คือ ทรงกลม ซึ่งมีการบำบัดในลักษณะการตกตะกอน ก่อนการปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ และทรงแคปซูล ซึ่งมีการบำบัดในลักษณะแนวนอน 3 ขั้นตอน สามารถรองรับปริมาณการบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้น

หลักการทำงาน

  1. ถังแบบเติมอากาศ เมื่อสิ่งปฏิกูลและน้ำเสียไหลเข้าสู่ถังบำบัดน้ำเสียจะแยกเป็นชั้นตะกอนเบาลอยขึ้นด้านบนส่วนตะกอนหนักตกลงสู่ด้านล่างถัง มีการใช้งานปั๊มเติมอากาศร่วมกับการบำบัดสิ่งปฏิกูลและย่อยสลายตะกอนโดยจุลินทรีย์ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่าBODก่อนการปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ
  2. ถังแบบไม่เติมอากาศ มีหลักการทำงานคล้ายถังแบบเติมอากาศ ความแตกต่างคือไม่มีการใช้งานปั๊มเติมอากาศร่วมกับการบำบัดสิ่งปฏิกูลและย่อยสลายตะกอนโดยจุลินทรีย์

การเลือกใช้ขนาดโดยการคำนวณในเบื้องต้น 

จำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน x (ปริมาณน้ำที่ใช้งานในแต่ละวัน x 80%) x เวลาในการบำบัดน้ำเสีย(ใช้เวลาประมาณ 1.5 วัน) เช่น จำนวนผู้อยู่อาศัย 5 คน x (ปริมาณน้ำที่ใช้งานในแต่ละวัน 200 ลิตร x 80%) x 1.5 = 1,200 ลิตร คือ ขนาดของถังบำบัดน้ำเสียซึ่งเหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ควรมีการเลือกซื้อถังบำบัดน้ำเสียที่ได้รับมาตรฐาน มอก. 

ตัวอย่างการเลือกใช้งานถังบำบัดน้ำเสีย ประเภทซึ่งผลิตด้วยไฟเบอร์กลาส แบบเติมอากาศ ขนาดตั้งแต่ 10,000 – 30,000 ลิตร ความกว้างตั้งแต่ 2 – 2.5 เมตร ความยาว 3.2 – 6.15 เมตร และความสูง 2.15 – 2.65 เมตร เหมาะสำหรับจำนวนผู้ใช้งานตั้งแต่ 53 – 70 คน และรองรับจำนวนผู้ใช้งานสูงสุด 153 – 203 คน

การติดตั้ง

  1. ควรเลือกประเภท คุณสมบัติ และขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ควรมีระบบการกำจัดคราบน้ำมันหรือสารเคมีโดยเฉพาะ หากเลือกใช้งานถังบำบัดน้ำเสียโดยทั่วไป ส่งผลให้ไม่สามารถกำจัดคราบน้ำมันหรือสารเคมีก่อนการปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ
  2. เลือกพื้นที่ติดตั้งและมีระยะห่างจากถังบำบัดน้ำเสีย ประมาณด้านละ 1 เมตร
  3. ตรวจสอบขนาดถังและขนาดหลุม ทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง
  4. ตรวจสอบเศษวัสดุหลังการติดตั้ง เพื่อป้องกันความเสียหายต่อถังบำบัดน้ำเสีย
  5. ก่อนกลบดินและทรายหยาบ เพื่อปิดถังบำบัดน้ำเสีย ควรเติมน้ำให้เต็มถัง เพื่อรองรับแรงดันจากดินสู่ถังบำบัดน้ำเสีย

ปั๊มบ้านบอกต่อ! กับเกร็ดความรู้เรื่องปั๊มน้ำ และสารพัดวิธีแก้ปัญหาจุกจิกภายในบ้าน เรามีคำตอบให้คุณได้ทุกวัน
น้องปั๊มบ้านมีบริการซ่อม ติดตั้ง และจำหน่ายปั๊มน้ำ
– ช่างเข้าหน้างานภายใน 1-3 ชม.
– รับประกัน(งานซ่อม 15 วัน) (งานติดตั้ง 90 วัน)
– ทั่วกรุงเทพปริมณฑล และทั่วประเทศ(บางพื้นที่)
เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันท่วงทีและไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกกันอีกด้วยครับ
แจ้งปัญหาหรือปรึกษาฟรีเกี่ยวกับปั๊มน้ำ
โทร 095-768-8937 หรือ Add line id : @pumpban
ในเวลาทำการ จ-เสาร์ 8.30-17.30น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์หยุดนักขัตฤกษ์